วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การบำรุงรักษาเครื่องยนต์



การบำรุงรักษาเครื่องยนต์
               
เครื่องยนต์จะทำงานได้ดีและมีอายุการใช้งานยาวนาน  ขึ้นอยู่กับการใช้และบำรุงรักษาที่ถูกวิธี  ตามคู่มือของบริษัทผู้ผลิตกำหนด  และผู้ใช้หรือผู้ควบคุมเครื่องจะต้องเอาใจใส่ดูแลตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องเล็กน้อย  ตั้งแต่เริ่มแรกการเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นไม่มากหากละเลยความเสียหายจะเกิดขึ้นมากเป็นทวีคูณ
ผู้ควบคุมเครื่องที่ดี  ควรมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์นั้นบ้างพอสมควรจะโดยมีพื้นฐานการศึกษาเดิม  มีประสบการณ์มาก่อน  ควรมีการอบรม  ชี้แจงเพิ่มเติมให้รู้จักและเข้าใจในเครื่องยนต์เพิ่มขี้น  และอีกประการหนึ่งที่ผู้ควบคุมควรมีคือ  การรู้จักสังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องยนต์
สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้เครื่องยนต์ชำรุดสึกหรอ   หรือเสียหายเร็วกว่ากำหนดคือ  ระบบการหล่อลื่น  น้ำมันเครื่องที่ใช้ในการหล่อลื่น  ควรใช้ตามคู่มือของบริษัทผู้ผลิต  กำหนดให้ใช้เฉพาะเครื่องยนต์นั้น ๆ น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ดีเซลจะต้องมีประสิทธิภาพในการหล่อลื่นที่ดีกว่า  น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้กับเครื่องยนต์เบนซินเพราะเครื่องยนต์ดีเซลทำงานในลักษณะที่หนักกว่าเครื่องยนต์เบนซินแลพยายามใช้น้ำมันหล่อลื่นที่ถูกต้อง  และสวะอาดเท่านั้น  อย่าใช้น้ำมันหล่อลื่นจากถังที่ตั้งทิ้งไว้โดยไม่ปิดฝา  เพราความชื้นและฝุ่นละอองในอากาศจะทำให้มีน้ำและฝุ่นทรายปนอยู่  ถึงแม้ว่าได้เลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นที่ดีแล้ว  การใช้งานจะเกิดความร้อนสูงตะกอนจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงรวมตัวกับน้ำมันหล่อลื่นทำให้เสื่อมคุณภาพลงหากยังทนใช้ต่อไปจะเกิดการสึกหรอสูงหรืออาจเกิดการชำรุดเสียหายไดจึงมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นตามกำหนดเวลาที่บริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์กำหนดโดยให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
               


การบำรุงรักษารังผึ้งหม้อน้ำ
         
รังผึ้งหม้อน้ำ  ทำหน้าที่ควบคุมการระบายความร้อนจากห้องเผาไหม้เครื่องยนต์  ให้อยู่ในอุณหภูมิใช้งาน  (Working Temporature)  ระหว่าง  160 180 ฟ. มีลักษณะบอบบางและราคาแพง  หากได้รับการกระทบกระเทือนอย่างแรง  หรือถูกวัสดุแข็งเพียงเล็กน้อย  รังผึ้งหม้อน้ำก็จะชำรุดเสียหาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขนส่งเครื่องสูบน้ำไปปฏิบัติงานในท้องถิ่น  หากไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว  รังผึ้งหม้อน้ำมักชำรุดเสียหายก่อน  ที่จะนำเครื่องสูบน้ำไปใช้งาน  ทำให้เกิดความยุ่งยากเสียเวลาในการซ่อมแซม  แต่อย่างไรก็ตามหากผู้เกี่ยวข้องมีความรับผิดชอบ  ก็สามารถป้องกันแก้ไขมิให้รังผึ้งหม้อน้ำเกิดการชำรุดเสียหายได้
ข้อควรระวัง
1.       ต้องตรวจดูระดับน้ำทุก ๆ ครั้งก่อนติดเครื่องยนต์  ปกติระดับน้ำต้องอยู่ระหว่างคอ
หม้อน้ำ
2.       ควรเติมน้ำที่สะอาดลงไปในหม้อน้ำเท่านั้น  เพื่อป้องกันมิให้หม้อน้ำ  หรือทางเดินของ
หลอดรังผึ้งหม้อน้ำเกิดการอุดตัน
3.       ตรวจดูรอยรั่วตามที่ต่าง ๆ เช่น  ท่อยางหม้อน้ำ  รังผึ้ง  ปั๊มน้ำ  ฯลฯ  หากมีรอยรั่วซึม
ให้ทำการซ่อมแซมแก้ไขทันที
4.       ตรวจดูสายพาน  อย่าให้หย่อนหรือตึงเกินไป  ปกติต้องอยู่ระหว่าง ½” – 1”
5.       ตรวจดูครีบที่รังผึ้งหม้อน้ำอย่าให้พับงอปิดช่องทางลม  หรือสกปรกเต็มไปด้วยดิน
โคลนและคราบน้ำมัน  เพราะจะทำให้ระบายความร้อนยาก  เครื่องยนต์จะร้อนจัด  หากครีบพับงอให้ใช้ใบเลื่อยหรือโลหะบาง ๆ ดัดให้ตรง  ถ้าครีบสกปรกให้ทำความสะอาด  ใช้ลมหรือไอน้ำร้อนที่มีความดันสูงพ่นย้อนทิศทางลมเข้า
6.       พัดลมระบายความร้อนต้องอยู่ในสภาพที่ดี  ไม่แตกหัก  หรือบิดงอเสียศูนย์จะทำให้
ปั๊มน้ำชำรุด
7.       อย่าติดเครื่องยนต์โดยมิได้ปิดฝาหม้อน้ำเป็นอันขาด  เพราะจะทำให้เกิดตะกรันในรัง
ผึ้งและภายใน  เครื่องยนต์  เนื่องจากน้ำในรังผึ้งหม้อน้ำระเหยออกได้ง่าย  เครื่องยนต์จะร้อนจัด  เพราะระบายความร้อนยาก
8.       เกย์วัดความร้อนต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้  หากเสียใช้การไม่ได้ให้จัดการเปลี่ยน
ใหม่
9.       อย่าปิดฝาหม้อน้ำเพื่อตรวจเช็คระดับน้ำในขณะที่เครื่องยนต์มีอุณหภูมิสูง  หรือกำลัง
ทำงานอยู่  เพราะกำลังดันของไอน้ำจะทำให้เกิดอันตรายได้

10.    หากน้ำในหม้อน้ำเกิดแห้งลงในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน  และมีอุณหภูมิสูง  อย่า
ดับเครื่องยนต์และเติมน้ำในทันที  ให้ติดเครื่องเดินเบาสักระยะหนึ่ง  พอให้อุณหภูมิเครื่องยนต์ลดลง  แล้วค่อย ๆ เติมน้ำที่สะอาดลงไปทีละน้อยด้วยความระมัดระวัง
11.    ถ่ายน้ำทิ้งเมื่อเห็นว่าน้ำในหม้อน้ำสกปรก  เช่น  มีสนิม  หรือคราบน้ำมัน  การถ่ายน้ำ
มันให้ติดเครื่องเดินเบา  พร้อมกับนำน้ำสะอาดมาเติมที่หม้อน้ำให้เต็มอยู่เสมอ  ในขณะที่ก๊อกถ่ายน้ำมันกำลังเปิดอยู่  การทำเช่นนี้เพื่อให้น้ำมีการหมุนเวียนถ่ายสิ่งสกปรกทิ้งไปตามน้ำด้วย


การบำรุงรักษาแบตเตอรี่
แบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานจากปฏิกิริยาทางเคมี  เป็นพลังงานไฟฟ้า  ประกอบด้วย
-                   -          เปลือกหม้อที่ผลิตจากวัสดุที่บอบบาง
-                   -          แผ่นธาตุประกอบด้วยแผ่นตะกั่วบริสุทธิ์  และแผ่นตะกั่วอ๊อกไซด์  มีแผ่นฉนวนกั้น
ระหว่างแผ่นธาตุ
-                   -          น้ำยา  หรือ  Electrolite  ซึ่งเป็นส่วนผสมของน้ำกรดกำมะถันกับน้ำกลั่น  ให้ได้  ถพตาม
ที่ต้องการประมาณ  1,250
สรุปแล้วแบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์ที่บอบบางแต่ราคาแพง   หากไม่ได้รับการเอาใจใส่หรือบำรุงรักษาให้ถูกวิธี  ก็จะทำให้อายุการใช้งานสั้น  ไม่คุ้มค่า  เนื่องจากชำรุดเสียหายได้ง่ายจากการกระทบกระแทกของแข็ง  หรือใช้งานผิดวิธี
ข้อควรระวัง
1.             1.       เวลาใส่ขั้วแบตเตอรี่อย่าใช้โลหะหรือของแข็งตอกอัดขั้วลงไป  เพราะจะทำให้ขั้ว
แบตเตอรี่ชำรุดและแผ่นธาตุภายในหลุดร่วง  เกิดการชอร์ทในช่องของแบตเตอรี่  ควรใช้มือกดหมุนลงไปเท่านั้น  ถ้าขั้วสายเล็กกว่าให้หใช้ไขควงถ่างรอยผ่าเสียก่อน  แล้วขันน๊อตให้แน่นพอสมควร  เสร็จแล้วใช้จาระบทาบาง ๆ เพื่อป้องกันซัลเฟสเกาะที่ขั้วแบตเตอรี่
2.             2.       เวลาถอดขั้วสายออกจากแบตเตอรี่ห้ามใช้ไขควงหรือของแข็งงัดออก  จะทำให้ฝา
แบตเตอรี่ชำรุดเสียหายได้  ต้องกระทำโดยวิธีคลายสกรูออกให้หลวมเสียก่อน  แล้วใช้ไขควงกดปิดรอยแตกแยกให้ถ่างออกแล้วใช้มือหมุนออกเช่นเดียวกับข้อ 1
3.             3.       อย่าสตาร์ทเครื่องยนต์ให้นานเกินควร  หรือสตาร์ทติดต่อเป็นเวลานานเกิน  10  วินาที 
ถ้ายังขืนสตาร์ทเครื่องยนต์ต่อไปอีก  จะทำให้แผ่นธาตุแบตเตอรี่ชำรุด  หรือมอเตอร์สตาร์ทไหม้ได้
4.             4.       ให้เปิดฝาตรวจดูระดับน้ำยาที่อยู่ในช่องแบตเตอรี่แต่ละช่องทุกสัปดาห์  ถ้าระดับน้ำยา
ลดลงให้เติมเฉพาะน้ำกลั่นเท่านั้น  และควรสูงท่วมแผ่นธาตุประมาณ  1  ซม.
5.             5.       อย่าปล่อยแบตเตอรี่ไว้โดยไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานเป็นอันขาด  ต้องนำมาชาร์ทไฟ
อย่างน้อย  15  วันต่อครั้ง  ครั้งละไม่น้อยกว่า  30  นาที
6.             6.       ไม่ควรชาร์ทแบตเตอรี่ด้วยกระแสไฟที่สูงเกินไป  จะทำให้แผ่นธาตุทำปฏิกิริรยากับน้ำ
ยาอย่างรวดเร็ว  เกิดความร้อนสูง  ทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ลดลงกว่ากำหนด
7.             7.       หมุนฝาปิดน้ำยาให้แน่นและรูระบายอากาศต้องไม่อุดตัน  เพื่อระบายแก๊สขณะแผ่น
ธาตุทำปฏิกิริยากับน้ำยาในแบตเตอรี่  จะเกิดความร้อนและแก๊สขยายตัว  อาจทำให้แบตเตอรี่บวมหรือระเบิดได้
8.             8.       หมั่นเช็คทำความสะอาดฝาแบตเตอรี่  อย่าให้มีสิ่งสกปรก  เช่น  ฝุ่น  น้ำมัน  และ
ความชื้น  เป็นต้น  หรือใช้น้ำอุ่นล้างถ้ามีซัลเฟสเกาะที่ขั้วสาย
9.             9.       อย่าวางเครื่องที่เป็นโลหะบนหม้อแบตเตอรี่  จะทำให้เกิดการลัดวงจร  ขั้วแบตเตอรี่จะ
ชำรุดเสียหายได้
10.      10.    การติดตั้งแบตเตอรี่ต้องติดตั้งกับแท่นยึดที่แข็งแรงและแน่น  ไม่สั่นสะเทือนมากใน
ขณะปฏิบัติงานสะดวกต่อการบริการ  ไกลจากความชื้น  และอุณหภูมิไม่สูงเกินไป
11.      11.    ในการเคลื่อนย้ายแบตเตอรี่ให้ใช้วิธียก   อย่าลากหรือดึง  หรือปล่อยลงกระแทกพื้น
แรง ๆ เพราะอาจจะทำให้เปลือกหม้อแบตเตอรี่ทะลุได้
12.      12.    แบตเตอรี่ใหม่หลังจากเติมน้ำยาแล้วจะเกิดกระแสไปขึ้นเอง  ทางด้านเทคนิคห้ามไม่
ให้นำไปใช้งาน  เพราะจะทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่สั้นหรือเสื่อมสภาพเร็วผิดปกติ  จะต้องนำไปชาร์ทไฟเสียก่อนด้วยกระแสไฟอัตราไม่เกิน  2 – 3  แอมแปร์  ประมาณ  72  ชั่วโมง  แล้วจึงนำไปใช้งานก็จะทำให้ได้แบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
13.      13.    แบตเตอรี่จะมีอายุการใช้งานและมีประสิทธิภาพดีที่สุด  แบตเตอรี่นั้นจะต้องได้รับการ
ประจุหรือชาร์ทไฟเต็ม  (Full  charge)  อยู่ตลอดเวลา
14.      14.    แบตเตอรี่ทั่วไปมีอายุการใช้งานระหว่าง  6  เดือน  ถึง  2  ปี  ซึ่งขึ้นอยู่กับการใช้และ
บำรุงรักษาที่ถูกวิธี  ถ้าบำรุงรักษาไม่ถูกวิธีจะมีอายุการใช้งานต่ำกว่า  6  เดือน  หรือถ้าใช้และบำรุงรักษาให้ถูกวิธีอายุการใช้งานจะได้ไม่น้อยกว่า  2  ปี  จะเห็นได้ว่าการใช้และบำรุงรักษาแบตเตอรี่ให้ถูกวิธี  อายุการใช้งานจะต่างกันหลายเท่าตัว

การบำรุงรักษาเรกกูเรเตอร์  (Regulator)
เรกกูเรเตอร์ที่เราเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า  คัทเอาท์  เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของไดชาร์ท  (Generator)  ไม่ให้จ่ายกระแสมากหรือน้อยเกินไป  อันอาจจะทำให้ไดชาร์ทชำรุดเสียหายเป็นตัวตัดต่อวงจรให้กระแสไฟฟ้าไหลจากไดชาร์ทเข้าไปดังแบตเตอรี่เพื่อเก็บเอาไว้ใช้งานต่อไป  คัทเอาท์กับไดชาร์ทจะทำงานสัมพันธ์กันโดยอุปกรณ์ทั้งสอง  จะต้องมีสภาพดีทั้งคู่  ระบบไดชาร์ทจึงจะทำงานได้ดีตามวัตถุประสงค์  แต่ถ้าไดชาร์ทดี  คัทเอาท์ชำรุดไฟจะไม่ชาร์ทหรือถ้าไดชาร์ทชำรุดคัทเอาท์ดี  ไฟก็จะไม่ชาร์ทเช่นกัน

ข้อควรระวัง

1.        เวลาใส่ขั้วแบตเตอรี่ทั้งสองขั้วต้องตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนว่า  ขั้วไหนเป็นขั้วบวก (+)
หรือขั้วลบ (-)  และใส่สายแบตเตอรี่ให้ถูกกับขั้วแบตเตอรี่  โดยส่วนมากแล้วจะใช้ขั้วบวกเข้ากับมอเตอร์สตาร์ท  และขั้ลบลงแท่นเครื่อง  ถ้าใส่ผิดจะทำให้คัทเอาท์ชำรุดเสียหาย  ส่วนเครื่องยนต์  CMC.  บางรุ่น  ขั้วบวกจะต่อลงดินและขั้วลบต่อเข้ากับมอเตอร์สตาร์ท
2.             ห้ามปรับหรือแต่งคัทเอาท์จะเป็นการงัด  คลาย  หรือถอดอุปกรณ์ภายในคัทเอาท์เป็นอัน
ขาด  ถ้าไม่มีความชำนาญหรือประสบการณ์พอ  จะทำได้ก็เพียงใช้กระดาษทรายชนิดละเอียดขัด  เพื่อทำความสะอาดหน้าทองขาวเท่านั้น  ถ้าไม่ดีขึ้นต้องแจ้งให้ช่างที่ชำนาญแก้ไข
3.             อย่าเปิดฝาครอบคัทเอาท์ทิ้งไว้เพราะจะทำให้ความชื้นและน้ำมันกระเด็นเข้าไป  ทำให้เกิด
เป็นประกายไฟที่หน้าทองขาว  ถ้าไม่มีมิเตอร์วัดแอมแปร์  (Ampere)  แสดงไฟชาร์ท  ถ้าจะตรวจไฟชาร์ทหรือไม่  ให้ถอดขั้วแบตเตอรี่ออก  แล้วเขี่ยขั้วเดิมดู  ถ้ามีประกายไฟแสดงว่าไฟชาร์ท

การบำรุงรักษามอเตอร์สตาร์ท
มอเตอร์สตาร์ททำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่  เพื่อหมุนขับจานเฟืองที่ติดกับข้อเหวี่ยงเครื่องยนต์  ให้หมุนตามเป็นการเริ่มต้นให้เครื่องยนต์ทำงาน  มอเตอร์สตาร์ทจะมีอายุการใช้งานและประสิทธิภาพสูงขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาที่ดี  ดังต่อไปนี้.-
1.        ไม่ควรสตาร์ทเครื่องยนต์เกินกว่าครั้งละ  10  วินาที  เพราะจะทำให้มอเตอร์สตาร์ท

ไหม้หรือเกิดการชำรุดเสียหายได้

2.        ไม่ควรใช้กระแสไฟในการสตาร์ทเกินกว่าที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด  เช่น  มอเตอร์สตาร์ท
ต้องการแรงเคลื่อนไฟฟ้าเพื่อสตาร์ท  12  โวลท์  แต่ผู้ควบคุมเครื่องมีความจำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่  2  ลูก  ต้องต่อแบบขนานเพื่อเพิ่มกระแสไฟ  อย่างต่อแบบอันดับ  เพราะจะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างอื่นเสียหาย  เนื่องจากแรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงอีกเท่าตัว  จาก  12  โวลท์  เป็น  24  โวลท์
3.        ไม่ควรใช้สายไฟหรือเครื่องมือ  เช่น  ไขควง  ต่อวงจรสตาร์ทแทนสวิทกุญแจ  เพราะ
จะทำให้โซลีนอยด์ทำงานไม่สะดวก  เกิดการกระแทกต่อเนื่องกันหลายครั้ง  อาจทำให้โซลีนอยด์เกิดการชำรุดเสียหายได้
4.        มอเตอร์สตาร์ทไม่ควรมีสิ่งสกปรกหรือคราบน้ำมันติดอยู่  เพราะจะทำให้ซี่คอมมิว
เตอร์และแปรงถ่านสกปรก  มอเตอร์สตาร์ทจะทำงานไม่เต็มที่  หรือไม่หมุน  เมื่อมีความจำเป็นต้องทำความสะอาด  ควรใช้น้ำมันระเหยตัวได้เร็ว  เช่น  น้ำมันเบนซิน  เป็นต้น
5.        อย่าให้น้ำหรือละอองน้ำเข้ามอเตอร์สตาร์ท  เพราะจะทำให้สปริงกดแปรงถ่าน  หรือ
ส่วนอื่น ๆ ภายในมอเตอร์สตาร์ทเป็นสนิม  แปรงถ่านอาจขัดตัว  มอเตอร์สตาร์ทจะไม่หมุน
6.        ในกรณีมอเตอร์สตาร์ทไม่ทำงาน  ควรตรวจสอบขั้วต่อสายต่าง ๆ เช่น  ขั้วสาย
แบตเตอรี่  ขั้วบวกหรือขั้วลบอาจหลุดหลวม  หรือแบตเตอรี่มีไฟไม่พอ
7.     ทุก  1,500  ชั่วโมงควรถอดทำความสะอาด  ใส่จาระบีที่ลูกปืน  หรือน้ำมันหล่อลื่นที่
บู๊ช  ตรวจซี่  คอมมิวเตอร์  ถ้าจำเป็นต้องกลึงและเซาะร่องไมก้า  แปรงถ่านถ้าสึกเกินครึ่งต้องเปลี่ยนใหม่  ตรวจแรงสปริงกดถ่านและซองแปรงถ่าน  อย่าให้แปรงถ่านขัดตัว
การบำรุงรักษาไดชาร์ท  (Generator)
ไดชาร์ทหรือ  Generator  เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้กับเครื่องยนต์ระบบ  Electric  Start  ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟตรงสำหรับชาร์ทแบตเตอรี่  เพื่อใช้ในสตาร์ทเครื่องยนต์  และยังใช้กับหลอดไฟ  แสงสว่างสำหรับการทำงานของเครื่องยนต์ในเวลากลางคืนได้เป็นอย่างดี  ไดชาร์ทหรือ  Generator  จะทำงานได้ดีหรือมีอายุการใช้งานคงทน  ขึ้นอยู่กับการใช้และบำรุงรักษาให้ถูกวิธี  ดังนี้.-
1.               1.        หมั่นตรวจสอบความตึงของสายพานเสมอ  อย่าให้ตึงหรือหย่อนจนเกินไป  เพราะถ้าสาย
พานหย่อนเกินไป  จะทำให้ไดชาร์ทจ่ายกระแสน้อย  และสายพานจะสึกหรอชำรุดเสียหายได้  ถ้าสายพานตึงเกินไปจะทำให้ลูกปืนหรือบู๊ชไดชาร์ทชำรุดเสียหายได้เช่นกัน  (โปรดดูการใช้และบำรุงรักษาสายพาน)
  1. หล่อลื่นไดชาร์ทในกรณีทีมีช่องหยอดน้ำมันหล่อลื่นทุก ๆ 250 ชม.
  2. หมั่นตรวจน๊อตสกรูที่ยึดไดชาร์ทให้แน่นเสมอ  เพราะถ้าปล่อยให้หลวม  จะทำให้ขายึดได
ชาร์ทแตกหักได้
  1. ขณะปฏิบัติงานหากเกิดมีเสียงดังผิดปกติในตัวไดชาร์ท  ให้หยุดเครื่องยนต์ทำการตรวจ
สอบสาเหตุ  อาจเกิดจากลูกปืนหรือบู๊ชชำรุด  ทำให้เสียดสีภายในตัวไดชาร์ทได้
  1. ไม่ควรเอาถังน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ใกล้กับที่ติดตั้งไดชาร์ท  เพราะเชื้อเพลิงอาจลุกไหม้ได้โดย
ประกายไฟจากไดชาร์ท
  1. ถ้าน้ำเข้าไดชาร์ทหรือเปียกน้ำ  ควรถอดออกมาทำความสะอาด  โดยการอบหรือตากให้
แห้งสียก่อน  อย่าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดสนิม  และกระแสไฟลัดวงจรได้
  1. เมื่อไดชาร์ทไม่ทำงานหรือไม่จ่ายไฟอาจเกิดจากสาเหตุ  ไม่ควรทำการถอดซ่อมเองโดยไม่
มีความรู้หรือความชำนาญพอ  ควรแจ้งให้ผู้ที่มีความสามารถเฉพาะด้านนี้เป็นผู้ตรวจซ่อม  มิ
ฉนั้น  จะเกิดการเสียหายมากขึ้น





4 ความคิดเห็น: